“โครงการอาชาบำบัด เพื่อให้น้องๆ ได้รับโอกาสและพัฒนาการที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างฟื้นฟู ความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีให้แก่น้องๆ ได้ดีขึ้น”

“โครงการอาชาบำบัด เพื่อให้น้องๆ ได้รับโอกาสและพัฒนาการที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างฟื้นฟู ความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีให้แก่น้องๆ ได้ดีขึ้น”

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ มณฑลทหารบกที่ 38 ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน จัดกิจกรรมอาชาบำบัด เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟู พัฒนาการ กระตุ้น การรับรู้เข้าใจ และด้านสุขภาพร่างกายที่ดีให้แก่เด็กพิเศษ เกิดพัฒนาการ อีกทั้งเพื่อให้น้องๆ ได้รับโอกาสและพัฒนาการที่ดีขึ้น และเป็นแรงบันดาลใจในอนาคตให้กับน้องๆ และผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองรัง ณ สนามโครงการอาชาบำบัด โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ จ.น่าน

โดยมีทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ มลฑลทหารบกที่ 38 ดำเนินโครงการผสานความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน โดยใช้อาชาบำบัดเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการในด้านความรู้สึก การรับรู้เข้าใจด้านการเข้าสังคม ด้านสุขภาพร่างกาย โดยมีกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการให้น้องๆ มีกิจกรรมทำกายบริหารบนหลังม้า ตีบอลบนหลังม้า การหยิบบอลบนหลังม้า การทายบัตรคำ การต่อภาพ การทายสี การเดินม้าซิกแซก และให้อาหารม้า เนื่องจากการเดินของม้าช่วยกระตุ้นผู้ป่วยในด้านต่างๆ เพราะการขี่ม้า จะสร้างการทรงตัว และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการขี่ม้า เป็นการเพิ่มความนิ่งให้กับเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองและการเคลื่อนไหว เพราะจังหวะการก้าวย่างของม้านั้น ใกล้เคียงกับจังหวะการก้าวเดินของมนุษย์ เมื่อเด็กๆ ได้ฝึกขี่ม้า ก็เปรียบเสมือนกับการได้ฝึกเดินด้วยตัวเอง และเพื่อให้เด็กสร้างความคุ้นเคยกับม้า อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีของประชาชนต่อกองทัพบก

นอกจากนี้ อาชาบำบัดเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่น่าเบื่อ และมีประโยชน์ต่อทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีภาวะบกพร่องทางสมอง การขี่ม้าตามธรรมชาติ ทำให้ผู้ขี่ได้รับการบำบัดจากการรับลมที่พัดโบก และสัมผัสสายลมที่พัดผ่านกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย จึงเป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการให้ผู้ปกครองเข้าถึงการกระตุ้นพัฒนาการ และการช่วยเหลือเด็กพิเศษได้สะดวก และง่ายขึ้น อีกทั้งการนั่งบนหลังม้ายังเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เพราะต้องขยับอิริยาบถตลอดเวลา ซึ่งสามารถช่วยลดอาการเกร็งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เสมือนการทำกายภาพบำบัดรูปแบบหนึ่ง ที่ผ่านมาการพัฒนาของเด็กพิเศษที่เข้าร่วมโครงการ ก็ได้ผลดีมีสมาธิ และการควบคุมร่างกายดีขึ้น

Share

Written by:

460 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวสาร และภารกิจอื่นๆ